มอเตอร์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราสามารถเห็นได้ทั่วไปรอบตัวเรา อย่างเช่นมอเตอร์ของพัดลม ที่ต้องมีกันทุกบ้านอยู่แล้ว แม้แต่ในโทรศัพท์มือถือของเราเอง ก็ยังมี มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นส่วนประกอบเช่นกัน มอเตอร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของเรา แม้จะไม่ทางตรงก็ทางอ้อม นอกจากนี้มอเตอร์ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเราได้อีกหลายอย่าง 

เช่นการนำมาประยุกต์ใช้กับการเกษตร การสร้างเครื่องทุ่นแรงต่างๆ โดยการเลือกใช้ชนิดของมอเตอร์ให้มีความเหมาะสม แต่ก่อนอื่นอยากให้ทุกท่านได้รู้จักกับชนิดของมอเตอร์แบบต่างๆ กันก่อน ว่าที่ขายในท้องตลาดมีแบบใดบ้าง เผื่อท่านใดจำเป็นต้องใช้จะได้เลือกซื้อได้ถูกต้อง 

ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้าในปัจจุบัน 

1.เอซีมอเตอร์  

เป็นมอเตอร์ที่ทำงานด้วยการไม่เคลื่อนที่ด้วยอัตราคงที่ และหมุนไม่เท่ากับอัตราความถี่ที่จ่ายมา มอเตอร์ชนิดนี้เราจะพบเห็นได้ง่ายรอบตัว โดยสามารถแยกย่อยได้ดังนี้ก็คือ 

จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ 

  • มอเตอร์เหนี่ยวนำ หรือมอเตอร์อะซิงโครนัส ที่หมุนด้วยความเร็วไม่คงที่ 
  • ซิงโครนัสมอเตอร์ คือหมุ่นด้วยอัตราคงที่จากไฟฟ้ากระแสสลับ 
  • มอเตอร์อุตสาหกรรม เป็นมอเตอร์ที่ใช้งานกับไฟฟ้าแรงสูงที่เป็นสามเฟส ที่ต้องการกำลังมากๆ เช่น สายพานลำเลียง พัดลม เป็นต้น 

2.เซอร์โวมอเตอร์ 

เป็นมอเตคอร์ที่ใช้ในการรความคุมตำแหน่งและทิศทางของมอเตอร์ นิยมใช้ในการควบคุมระยะไกล เราจะพบเห็นได้บ่อยในรถของรถของเด็ก หรือการควบคุมการทำงานระบบอัตโนมัติ การทำงานจะต้องทำงานร่วมกันกับตัว คอนโทรลเลอร์ ที่เป็นตัวป้อนคำสั่ง จากนั้นก็เป็นเซอร์โวไดร์ฟ ที่เป็นตัวรับคำสั่ง และส่งไปที่เซอร์โวมอเตอร์เป็นขั้นตอนสุดท้าย 

3.ดีซีมอเตอร์ 

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทก็คือ 

  • มอเตอร์แบบมีแปรงถ่าน โดยจะใช้กับของเล่นเด็ก เป็นต้น เป็นมอเตอร์ที่ไม่มีการทำงานซับซ้อนมาก มีราคาถูก แต่ต้องซ่อมบำรุงด้วยการเปลี่ยนแปรงถ่านอยู่บ่อยๆ และเป็น มอเตอร์ไฟฟ้า ที่มีเสียงรบกวนเยอะ 
  • มอเตอร์ชนิดที่ไม่มีแปรงถ่าน อันนี้จะต่างกับแบบแรกโดยสิ้นเชิง นิยมนำมาใช้กับยานพาหนะที่ใช้ไฟฟ้า เพราะมีเสียงรบกวนน้อย ไม่ต้องการบำรุงรักษามาก แต่ว่าจะมีราคาที่สูงกว่าแบบแรก 

4.มอเตอร์แบบสั่น 

เป็นมอเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการสั่นสะเทือน อย่างที่เราคุ้นเคยและอยู่ใกล้ตัวที่สุดก็คือระบบสั่นในโทนศัพท์มือถือ ในจอยสติ๊กของเกม รวมถึงใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยในสำนักงาน อาคาร หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น 

5.สเต็ปปิ้งมอเตอร์ 

ลักษณะการทำงานจะคล้ายกับเซอร์โวมอเตอร์ แต่ว่ามอเตอร์ชนิดนี้จะมีความแม่นยำที่สูงกว่ามาก นิยมใช้ในการพิมพ์ ในเครื่องมือชนิดต่างๆ โดยการทำงานของสเต็ปปิ้งมอเตอร์  

จะทำงานด้วยการรับสัญญาณพัลส์ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมคำสั่งในตัวขับเคลื่อน และสุดท้ายคือการส่งคำสั่งไปยังตัวมอเตอร์ ให้ทำงานตามที่กำหนด ทำให้การควบคุมการทำงานทำได้ง่าย อีกทั้งยังมีการส่งผลการทำงานย้อนกลับมาให้ผู้ใช้ได้รู้ด้วย 

ทั้ง 5 ชนิดนี้คือรูปแบบของ มอเตอร์ไฟฟ้า ที่มีในท้องตลาดที่เราสามารถหาซื้อมาใช้งานได้ อย่างไรก็ตามก่อนเลือกซื้อคุณควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับมอเตอร์แต่ละแบบให้ดีเสียก่อน ข้อดี ข้อเสีย ขั้นตอนในการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจในการใช้งาน